ภาษาไทย
26 ตุลาคม 2563
เรา,องค์กรสิทธิมนุษยชนสิบสององค์กรที่ลงชื่อใต้แถลงการณ์นี้,เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการคุกคามทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรมต่อนักข่าวสุชาณีคลัวเทรอและมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนัก ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ศาลจังหวัดลพบุรีจะอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ในคดีของสุชาณีซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษในคดีที่ริเริ่มโดยบริษัทธรรมเกษตรคดีนี้เน้นย้ำความจำเป็นในการยกเลิกข้อกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งถูกใช้บ่อยครั้งโดยบริษัทธุรกิจและปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจในการปิดปากคนวิพากษ์วิจารณ์
การฟ้องคดีต่อสุชาณีเกิดจากการทวีตเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มไก่ของบริษัทธรรมเกษตรในจังหวัดลพบุรีจากข้อร้องเรียนของแรงงานที่ส่งให้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่าบริษัทไม่ได้จ่ายค่าแรงขั้นต่ำและค่าแรงล่วงเวลาไม่ได้จัดหาเวลาพักและวันหยุดอย่างพอเพียง และมีการยึดเอกสารประจำตัวของคนงานในปี2559กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งให้บริษัทธรรมเกษตรจ่ายค่าชดเชย1.7ล้านบาทให้กับแรงงานซึ่งเป็นบทลงโทษที่ศาลฎีกาได้พิพากษายืนสุชาณีเป็นนักข่าววอยซ์ทีวีในปี2560ซึ่งเป็นเวลาที่เธอทวีตข้อความดังกล่าวและรายงานข้อกล่าวหาที่ว่าในเดือนมีนาคมปี2562ธรรมเกษตรได้ฟ้องคดีอาญาต่อสุชาณีภายใต้มาตรา326และ328แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามลำดับในเดือนธันวาคมปี 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีได้ตัดสินจำคุกสุชาณีสองปีโดยไม่รอลงอาญา
สุชาณีเป็นหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ตกเป็นเป้าหมายของธรรมเกษตรตั้งแต่ปี2559,ธรรมเกษตรได้ริเริ่มคดีอาญาและคดีแพ่งต่อประชาชน22คนและวอยซ์ทีวีจากการที่ประชาชนและวอยซ์ทีวีพูดถึงการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัท ในจำนวนนี้รวมถึงอดีตลูกจ้างของธรรมเกษตร นักกิจกรรมสิทธิแรงงาน นักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในเดือนมีนาคม2563สี่ผู้รายงานพิเศษและประธานของสองคณะทำงานแห่งสหประชาชาติได้เขียนถึงรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความเป็นกังวลต่อการ“คุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่องโดยบริษัทธรรมเกษตรต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาตินักข่าวและนักวิชาการจากการไม่ยอมรับสภาพการจ้างงานอย่างเอารัดเอาเปรียบต่อแรงงานข้ามชาติ”
แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยที่นำมาปฏิบัติในปี2562ได้ตั้งเป้าหมายให้ความสำคัญกับการลดการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation)หรือSLAPPs และป้องกันการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างไรก็ตามรัฐบาลกลับล้มเหลวในจุดประสงค์ข้อนี้ต้นเดือนที่ผ่านมารัฐบาลไทยเพิ่งลดทอนคำมั่นสัญญาของตัวเองในการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยการมอบรางวัลด้านสิทธิมษยชนให้กับบริษัทมิตรผลบริษัทน้ำตาลที่ถูกฟ้องคดีกลุ่มเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนูษยชนในกัมพูชา
ในเดือนธันวาคมปี2562สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเพิ่มกฎหมายสองข้อในมาตรา161/1และ165/2ซึ่งให้อำนาจในการไม่รับฟ้องคดีต่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะการปฏิรูปนี้ถูกอ้างอิงในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนว่าเป็นหลักฐานความพยายามของรัฐบาลในการป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะอย่างไรก็ตามผู้พิพากษาได้ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายสองตัวนี้ในคดีไม่มีมูลที่ฟ้องโดยธรรมเกษตรและบริษัทเอกชนอื่นต่อนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จนถึงทุกวันนี้
ในขณะที่การบังคับใช้มาตรา161/1และ165/2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยผู้พิพากษาในการยุติคดีที่ละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะจะเป็นก้าวที่น่าชื่นชม การปฏิรูปที่มีผลมากกว่านั้นก็ยังจำเป็นเช่นกัน
เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกโทษทางอาญาของการหมิ่นประมาทโดยการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 326-333 ในประมวลกฎหมายอาญาและมาตรา14พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในระดับสากลนั้นฉันทามติว่าด้วยการยกเลิกโทษทางอาญาของการหมิ่นประมาทนั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นที่มีการรับรองไว้ในข้อวินิจฉัยทั่วไป(GeneralComment)ที่34 ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งเน้นว่าการจำคุกไม่ใช่การลงโทษที่เหมาะสมของการหมิ่นประมาท
เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามมาตรการในการหยุดกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนักต่อนักข่าว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้แจ้งเบาะแสโดยทันที
รายชื่อ:
- Amnesty International
- ARTICLE 19
- ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR)
- The Asian Forum for Human Rights and development (FORUM-ASIA)
- ศูนย์ข้อมูลชุมชน Community Resource Center (CRC)
- Civil Rights Defenders
- Fortify Rights
- สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน Human Rights Lawyers Association
- Human Rights Watch
- International Federation for Human Rights (FIDH)
- ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)
- World Organisation against Torture (OMCT)