Skip to main content

อ้างถึง: ร่างกฎหมายของประเทศไทยซึ่งคุกคามองค์กรภาคประชาสังคมที่ดาเนินงานต่อต้านและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์

เรียน รัฐมนตรีบลิงเคน

พวกเรา องค์กรสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษย์ชนซึ่งได้ลงนามในจดหมายฉบับนี้ เขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อแสดงความกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดาเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกาไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. .... ของประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 25641 หากร่างกฎหมายของสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาฉบับนี้มีการประกาศใช้จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการทางานของภาคประชาสังคมไทย รวมทั้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งองค์กรทุน และองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศซึ่งทางานเพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และสิทธิแรงงานในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ เราขอเรียกร้องกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สานักติดตามและต่อต้านการค้ามนุษย์ (TIP Office) ในการเรียกร้องและกดดันรัฐบาลไทยให้ถอนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้

มาตราต่าง ๆ ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการสมาคม ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยประเทศไทยได้ให้สัตยาบันรับรองกติกาฉบับนี้เมื่อปี 2539 อย่างชัดเจน ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กาหนดนิยามขององค์กรที่ไม่แสวงหากาไรกว้างมากเกินไป ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการใช้กฎหมายโดยพลการต่อกลุ่มต่าง ๆ ที่


วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล2 อีกทั้งยังให้อานาจกระทรวงมหาดไทยในการใช้ดุลพินิจเพื่อ ปฏิเสธการจดแจ้งหรือจดทะเบียนองค์กรต่าง ๆ ด้วยเหตุผลที่อาจไม่เป็นธรรมเพื่อควบคุมการดาเนินงานของหน่วยงานที่จดแจ้ง และจากัดการดาเนินงานต่าง ๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบุคคล องค์กรหรือแหล่งทุนต่างประเทศ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ทาให้สิทธิในเสรีภาพในการสมาคมเป็นอาชญากรรม เนื่องจากกาหนดโทษทางอาญาต่อการดาเนินงานขององค์กรที่ไม่มีการจดแจ้งหรือขึ้นทะเบียน โดยมีโทษจาคุกห้าปีและปรับเป็นเงินจานวนมาก3

ในวันที่ 26 มีนาคม 2564 ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติสามท่านได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย ย้าเน้นถึงข้อกังวลที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และบทบัญญัติโดย “ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐไม่ยอมรับความเชี่ยวชาญและการสนับสนุนจากหน่วยงาน [ภาคประชาสังคม] เท่าที่ควร และถึงขั้นพิจารณาว่า พวกเขาอาจเป็นภัยคุกคามต่อสังคม” จดหมายฉบับนี้เตือนว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ “ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐที่จะต้อง ‘สร้างและรักษาสภาพแวดล้อมอันปลอดภัยและเกื้อหนุนเพื่อช่วยให้ภาคประชาสังคมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสามารถดาเนินการได้อย่างเสรีโดยปราศจากอุปสรรคและอันตราย’”4 อันที่จริงนั้น ภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง ดาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระเป็นองค์ประกอบที่สาคัญอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตย และมีบทบาทสาคัญต่อ TIP Office ในการที่สานักงานจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในภูมิภาคที่ถูกต้อง ทันเหตุการณ์ และมีหลักฐานสนับสนุน

ความสาคัญของภาคประชาสังคมในการต่อต้านการค้ามนุษย์และให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย

การเพิ่มอานาจควบคุมโดยพลการของรัฐต่อองค์กรภาคประชาสังคมจะส่งผลร้ายแรงต่อการดาเนินงานของพวกเขา ทาให้เกิดการเซ็นเซอร์ตนเอง และทาให้ไม่มีผู้กล้าเปิดเผยข้อมูลกรณีที่เจ้าหน้าที่ทุจริต เนื่องจากเจ้าหน้าที่อาจตอบโต้กลุ่มที่ออกมากล่าวหาว่าพวกเขาเกี่ยวข้องโดยตรงหรือเพิกเฉยต่อการค้ามนุษย์ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งทาให้ภาคประชาสังคมไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นนี้ ย่อมส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อความพยายามในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งมีข้อจากัดและความท้าทายมากอยู่แล้ว
ดังที่ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติทั้งสามท่านได้ตั้งข้อสังเกตในจดหมายเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ว่า ภาคประชาสังคมมีบทบาทสาคัญในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และดาเนินการเพื่อสนับสนุนการป้องกันการค้ามนุษย์ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย บทบาทของภาคประชาสังคมยังรวมไปถึงการ

สนับสนุนบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชายขอบ สนับสนุนการป้องกันอาชญากรรม ส่งเสริมความรับผิดชอบทางสังคม และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของบรรษัท ดาเนินการวิจัย เปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติมิชอบ และสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้เปราะบาง อาทิผู้หญิง เยาวชน แรงงานข้ามชาติ บุคคลไร้รัฐ และผู้เปราะบางกลุ่มอื่น ๆ5

องค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยสนับสนุนคณะทางานระหว่างหน่วยงานของรัฐในการค้นหาและจาแนกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทั่วประเทศ6 ก่อตั้งและดาเนินการสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทั้งสถานแรกรับและสถานพักพิงเพื่อประกันว่า กลุ่มผู้เปราะบางจะได้รับการปกป้องและคุ้มครอง7 องค์กรภาคประชาสังคมมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ช่องว่างทางกฎหมายและนโยบายซึ่งเอื้ออานวยให้เกิดการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับ รวมทั้งได้จัดทา

ข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูป และเรียกร้องให้นานาชาติสนใจต่อปัญหาเหล่านี้ กลุ่มประชากรหลายกลุ่มซึ่งมีความเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์มักไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐ เช่น แรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารเนื่องจากมีความเกรงกลัวเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการเข้าถึงกลุ่มประชากรเหล่านี้ ทั้งนี้ องค์กรแรงงานข้ามชาติหลายแห่งใน
ประเทศไทยเป็นองค์กรไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งพวกเขาต้องเผชิญปัญหาและความท้าทายอย่างรุนแรงด้านการจดทะเบียนองค์กร การปฏิบัติตามข้อกาหนดต่าง ๆ เช่น การรายงานผลการดาเนินงาน และรายงานการเงินตามที่กาหนดในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้8

กลุ่มภาคประชาสังคมเป็นผู้สนับสนุนสาคัญในการดาเนินงานเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์อย่างโหดร้ายต่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า กัมพูชา และลาวซึ่งทางานในเรือประมงของไทย โรงงานอาหารทะเล และภาคส่วนอื่น ๆ ของเศรษฐกิจไทยซึ่งทาให้พวกเขาต้องเผชิญกับการแสวงหาประโยชน์และการปฏิบัติมิชอบ9 การค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมทั้งอาชญากรรมกลางทะเลในเรือประมงไทยเป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้มีการลดระดับประเทศไทยลงไปที่อันดับ 3 (Tier 3) ในรายงานการค้ามนุษย์ปี 2557 ในขณะที่ปัญหาแรงงานขัดหนี้และการใช้แรงงานบังคับยังคงเป็นข้อกังวลสาคัญในเรือประมง10 แรงงานข้ามชาติเหล่านี้มักติดต่อขอความช่วยเหลือจากองค์กรภาคประชาสังคม และสมาคมแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากไม่ไว้วางใจว่าเจ้าหน้าที่ของไทยจะคุ้มครองพวกเขาได้หรือไม่ พวกเขาไม่ได้ใช้ภาษาไทย และเชื่อว่าความช่วยเหลือจากองค์กรภาคประชาสังคมของไทยจะช่วยให้พวกเขาได้รับความยุติธรรมมากกว่า11องค์กรพัฒนาเอกชนของไทยหลายแห่งจึงมีบทบาทสาคัญในการแก้ปัญหาช่องว่างการเข้าถึงความยุติธรรมของแรงงานข้ามชาติด้วยการรายงานข้อมูลการละเมิดสิทธิแรงงานและอาชญากรรมเข้าสู่กลไกของรัฐบาล12 ทั้งยังให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย การแปล และเป็นตัวแทนของแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะผู้หญิงซึ่งอยู่ในสถานการณ์ยากลาบากจากการเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน13

กฎหมายบางฉบับทาให้แรงงานตกอยู่ในสถานการณ์เปราะบางและอาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์14 องค์กรภาคประชาสังคมจึงมีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในการบรรเทาผลกระทบจากกฎหมายและข้อบังคับที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติและครอบครัวของพวกเขา แรงงานข้ามชาติเองต้องเผชิญกับข้อจากัดร้ายแรงด้านสิทธิในการรวมตัวเพื่อคุ้มครองตนเอง เนื่องจากกฎหมายจากัดสิทธิต่อเสรีภาพในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วม15 กลุ่มภาคประชาสังคมได้ดาเนินการเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรแรงงานข้ามชาติทั้งที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนหลายแห่ง รวมทั้งศูนย์แรงงาน องค์กรช่วยเหลือด้านกฎหมาย และองค์กรที่ดาเนินการให้บริการอื่น ๆ เพื่อเป็นตัวแทนของคนงานในที่ทางาน และในพื้นที่ทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม หน่วยงานเหล่านี้ทางานเพื่อพัฒนาและยกระดับสภาพการทางาน และดาเนินการกับนายจ้างที่หลอกลวง บังคับขืนใจและแสวงหาประโยชน์โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในภาคอาหารทะเล ภาคประมง และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ข้อกังวลหลักเกี่ยวกับผลกระทบทางกฎหมาย

เนื้อหาและบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดาเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกาไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. ....มีแนวโน้มคุกคามการดาเนินงานของภาคประชาสังคมซึ่งดาเนินงานต่อต้านและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในหลายด้าน ได้แก่

1. อานาจตามดุลพินิจโดยมิชอบที่จะปฏิเสธการจดทะเบียน: องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งมีแนวทางการทางานด้านการค้ามนุษย์แตกต่างจากรัฐบาลไทย หรือแสดงความเห็นวิพากษ์นโยบายด้านการค้ามนุษย์ และการดาเนินงานในประเด็นและกรณีต่าง ๆ ของรัฐบาลอาจถูกปฏิเสธไม่ให้จดทะเบียน โดยเป็นการกระทาแบบพลการ และไม่เปิดโอกาสให้สามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์ทางปกครอง และอาจเป็นเหตุให้ถูกบังคับให้ต้องทางานอย่างผิดกฎหมายตามกฎหมายใหม่ หรือต้องยุติการดาเนินงานลง ในระหว่างการอุทธรณ์คาสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนต่อศาลปกครอง องค์กรภาคประชาสังคมจะอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถดาเนินการได้ตลอดช่วงของการไต่สวนซึ่งอาจใช้เวลานานหลายปี

2. บทลงโทษทางอาญา: กลุ่มภาคประชาสังคมที่จดทะเบียนและทางานต่อต้านการค้ามนุษย์อาจถูกดาเนินคดีอาญา และอาจต้องรับโทษจาคุกไม่เกินห้าปี และถูกปรับ 100,000 บาท กลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่จดทะเบียนย่อมไม่ต้องการเสี่ยงที่จะดาเนินงานด้วยความหวาดกลัวที่จะถูกดาเนินคดี ถูกคุมขัง และอาจถูกเนรเทศกลับประเทศ แรงงานข้ามชาติมักตกเป็นหนี้ ส่วนหนึ่งเพราะต้องใช้เงินในการเดินทางมาประเทศไทย พวกเขาจึงไม่ต้องการทาสิ่งใดที่กระทบต่อการทางานและรายได้ ทั้งยังอาจทาให้ถูกจับกุมและดาเนินคดีอีกด้วย จึงเป็นเรื่องสาคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าเมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ด้านการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้

3. ข้อจากัดต่อแหล่งทุนต่างชาติ: ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ องค์กรที่ไม่แสวงหากาไรจะต้องขออนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยก่อนการดาเนินงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากต่างชาติ ข้อกาหนดนี้เป็นความพยายามอย่างจงใจเพื่อติดตาม ควบคุมและจากัดการดาเนินงานขององค์กรภาคประชาสังคมที่ได้รับทุนจากต่างชาติ ซึ่งในทางปฏิบัติ จะทาให้ภาคประชาสังคมแทบไม่สามารถรับทุนจากต่างชาติเพื่อดาเนินงานที่รัฐบาลไทยไม่เห็นชอบได้เลย องค์กรภาคประชาสังคมไทยหลายแห่งอาจต้องยุติการดาเนินงานอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะกลุ่มที่ทางานต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งเปิดโปงการทุจริตและการปฏิบัติมิชอบซึ่งรัฐบาลต้องการให้ปกปิดข้อมูลเหล่านี้ ทั้งยังมีเหตุผลอื่น ๆ ที่ข้อจากัดเช่นนี้จะสร้างปัญหาต่อการทางานต่อต้านการค้ามนุษย์ ประการแรก ส่วนใหญ่แล้ว องค์กรที่ทางานต่อต้านการค้ามนุษย์ในพื้นที่มักพึ่งพิงแหล่งทุนจากต่างชาติ ข้อจากัดด้านการเงินเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบด้านลบต่อการทางานในพื้นที่และการทางานเชิงป้องกัน รวมทั้งการแก้ไขกรณีการค้ามนุษย์ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างยิ่งหากรัฐบาลไม่ดาเนินการและจดทะเบียนให้องค์กรเหล่านี้ได้ในเวลาที่เหมาะสม ประการที่สอง ข้อกาหนดนี้ปฏิเสธความร่วมมือจากนานาชาติในการติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานและปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ และในภาคส่วนที่มักพบการค้ามนุษย์หรือมีการค้ามนุษย์เกิดขึ้นมากสุด องค์กรพัฒนาเอกชนต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งหน่วยงานที่ลงนามในจดหมายฉบับนี้กังวลว่า พวกเขาจะถูกขัดขวางจากรัฐบาลไทยซึ่งไม่ต้องการให้องค์กรพัฒนาเอกชนไทยติดตามสถานการณ์ในห่วงโซ่อุปทาน และให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคในประเทศที่เป็นผู้ซื้อ ประการที่สาม ข้อจากัดต่อแหล่งทุนต่างชาติในการสนับสนุนโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังอาจส่งผลกระทบต่อโครงการระดับภูมิภาคที่ตั้งอยู่นอกประเทศ ซึ่งทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางสาคัญระดับภูมิภาคในการทางานต่อต้านการค้ามนุษย์และด้านสิทธิมนุษยชน

4. อานาจกากับดูแลแบบแทรกแซง: ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อานาจหน่วยงานภาครัฐในการเข้าไปในสานักงานขององค์กรไม่แสวงหากาไรเพื่อตรวจสอบและยึดข้อมูลการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจถูกใช้เพื่อการข่มขู่ได้ ทั้งยังเป็นการละเมิดการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือครอบครัวของพวกเขา เนื่องจากข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับในองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ขององค์กรยังอาจได้รับความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาทางานในกรณีการค้ามนุษย์ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมในการกระทาความผิด

5. ข้อจากัดต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น: ความหวาดกลัวว่าจะถูกเพิกถอนการจดทะเบียนย่อมส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นขององค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นข้อจากัดร้ายแรงต่อการดาเนินงานวิจัยและกิจกรรมรณรงค์ขององค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งความประสงค์ที่จะเปิดเผยข้อมูลการละเมิดหรือความล้มเหลวของรัฐบาลต่อหน่วยงานระหว่างประเทศ ตลอดจนรัฐบาลสหรัฐ และสื่อมวลชน นอกจากนั้น อานาจของรัฐบาลในการตรวจสอบการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ย่อมส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวต่อการแสดงความเห็นอย่างเสรีขององค์กรพัฒนาเอกชน
ความถดถอยในการดาเนินงานต่อต้านและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

ความถดถอยในการดาเนินงานต่อต้านและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

ในเดือนเมษายน 2564 คณะทางานอาหารทะเล (Seafood Working Group - SWG) ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลกในการทางานวิจัยและรณรงค์ด้านสิทธิแรงงาน ซึ่งนาโดย Global Labor Justice - International Labor Rights Forum มีข้อเสนอแนะให้ลดอันดับของประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ปี 256416 ด้วยเหตุผลว่า รัฐบาลไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่าที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ปี 2543 ของสหรัฐฯ (TVPA) ได้ และยังมีการละเมิดสิทธิแรงงานเพิ่มขึ้นซึ่งสืบเนื่องมาจากนโยบายด้านโควิด-19 ของรัฐบาลไทย

จากการประชุมหารือร่วมกับกลุ่มภาคประชาสังคมที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หลายครั้ง SWG พบว่า รัฐบาลไทยไม่ได้ดาเนินการมากพอในหลายประเด็นหลัก ได้แก่ การต่อต้านการทุจริตของข้าราชการและการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐในการค้ามนุษย์ การคุ้มครองสิทธิต่อเสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วมซึ่งจะช่วยสนับสนุนการป้องกันการใช้แรงงานบังคับ และป้องกันไม่ให้นายจ้างใช้วิธีตอบโต้และคุกคามด้วยกระบวนการทางกฎหมายต่อคนงาน นักสหภาพแรงงาน และนักปกป้องสิทธิแรงงาน รวมทั้งการปิดปากผู้ที่รวมตัว เจรจาต่อรอง และรายงานการละเมิดสิทธิแรงงาน17

ร่างกฎหมายฉบับนี้สะท้อนถึงการขาดเจตจานงทางการเมืองของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และยังเป็นการย้าเน้นว่า รัฐบาลปฏิเสธ ไม่ยอมรับและไม่ตระหนักถึงความสาคัญของการมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน เปิดกว้างและให้เสรีภาพแก่ภาคประชาสังคม ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบหลักในการป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ และในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง
 
ข้อเสนอแนะ

พวกเราขอเรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและสานักงานต่อต้านการค้ามนุษย์ในการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดาเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกาไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. .... (2564) และประกันว่า กฎหมายและข้อบังคับในอนาคตที่เกี่ยวกับองค์กรพัฒนาเอกชนจะมีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด และพวกเราขอเรียกร้องให้ TIP Office พิจารณาข้อมูลในจดหมายฉบับนี้ในการจัดอันดับประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ปี 2564

ขอแสดงความนับถือ

องค์กรร่วมลงนาม

1 “Thailand’s NGO law: Uprooting foreign influence or gagging govt critics?,” Thai PBS World, 21 เมษายน 2564, https://www.thaipbsworld.com/thailands-ngo-law-uprooting-foreign-influence-or-gagging-govt-critics/.
2 ร่างกฎหมายฉบับนี้นิยามองค์กรไม่แสวงหากาไรว่า ‘คณะบุคคลที่มิได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะแต่ดาเนินกิจกรรมโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหารายได้หรือกาไรมาแบ่งกันกันด้วย’ นิยามนี้สามารถตีความได้ว่ามีความใกล้เคียงกับกลุ่มใด ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไม่เป็นทางการหรือไม่ได้มีการจัดการก็ตาม เช่น องค์กรชุมชน กลุ่มเคลื่อนไหว ชมรมต่าง ๆ กลุ่มแรงงาน และสมาคมที่มีการดาเนินงานระยะสั้น
3รายงานขององค์กรพัฒนาเอกชนหลายฉบับที่ยื่นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีบทวิเคราะห์ร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างละเอียด เช่น รายงานที่ร่างโดย องค์กร Article 19, International Commission of Jurists (ICJ) และ Human Rights Watch
4“อานาจหน้าที่ของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิในเสรีภาพในการสมาคมและการชุมนุมอย่างสงบ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมสิทธิในเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” OL THA/ 2/2021, 26 มีนาคม 2564
5“อานาจหน้าที่ของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิในเสรีภาพในการสมาคมและการชุมนุมอย่างสงบ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมสิทธิในเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” OL THA/ 2/2021, 26 มีนาคม 2564
6 Paul Buckley and Ubonwan Boonrattanasamai, “Trafficking in Persons in Thailand,” Thailand Migration Report 2019, Edited by Benjamin Harkins, United Nations Thematic Working Group on Migration in Thailand, 2019, https://thailand.iom.int/thailand-migration-report-2019-0, น. 159.
7 Courtland Robinson, Charlie Thame and Casey Branchini, “Anti-trafficking in Thailand: a Stakeholder Analysis of Thai Government Efforts, the US TIP Report and Rankings, and Recommendations for Action,” Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health, https://www.academia.edu/27488198/Anti_Human_Trafficking_in_Thailand_a_Stakeholder_Analysis_of_Thai_Government_Efforts_the_US_TIP_Report_and_Rankings_and_Recommendations_for_Action, น. ix
8 ภายใต้กฎหมายไทย คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชน/มูลนิธิต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีข้อกาหนดด้านการเงินและการบริหาร ซึ่งเป็นเหตุให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถจดทะเบียนองค์กรได้อย่างอิสระ
9 องค์กรภาคประชาสังคมเป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่รับการร้องเรียนจากแรงงานประมงที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในน่านน้าอินโดนีเซีย รวมทั้งให้ความช่วยเหลือนาตัวพวกเขากลับประเทศ และให้ที่พักพิงระยะยาวแก่ผู้เสียหาย
10 “Endline research findings on fishers and seafood workers in Thailand,” Ship to Shore Rights, ILO, March 10, 2020,
https://www.ilo.org/asia/media-centre/news/WCMS_737990/lang--en/index.htm
11 “Access Unknown: Access to Justice from the Perspectives of Cambodian Migrant Workers in Thailand, Global Alliance Against Traffic in Women,” 2017, https://www.gaatw.org/resources/publications/918-access-unknown-access-to-justice-from-the-perspectives-of-cambodian-migrant-workers-in-thailand; และโปรดดู Benjamin Harkins and Meri Åhlberg, “Access to Justice for Migrant Workers in South-East Asia, ILO, 2017, https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_565877.pdf; และโปรดดู “Ensuring migrant workers access to justice: An assessment of Thailand’s Migrant Workers Assistance Centers,” ILO, 2020, https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_762346.pdf
12 “Ensuring migrant workers access to justice: An assessment of Thailand’s Migrant Workers Assistance Centers,” ILO, 2020, https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_762346.pdf.
13 Benjamin Harkins and Meri Åhlberg, “Access to Justice for Migrant Workers in South-East Asia, ILO, 2017, https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/publication/wcms_565877.pdf, น. 23.
14 “Migrants, CSOs and the battle for labour rights in Thailand,” Asian Correspondent, January 11, 2016,
http://apmigration.ilo.org/news/migrants-csos-and-the-battle-for-labour-rights-in-thailand
15 กฎหมายไทยคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้งหรือเป็นแกนนาสหภาพแรงงานเฉพาะสาหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเท่านั้น การเลือกปฏิบัติด้านกฎหมายเช่นนี้ ขัดขวางไม่ให้ภาคแรงงานและสถานประกอบการซึ่งประกอบด้วยแรงงานข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่สามารถรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงานและมีตัวแทนอย่างเป็นทางการได้ โปรดดู Kimberly Rogovin, ‘ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแบบไพศาล: เหตุใดแรงงานข้ามชาติจึงต้องมีสิทธิด้านสหภาพแรงงานเพื่อป้องกันการใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย’, International Labor Rights Forum, มีนาคม 2563, https://laborrights.org/publications/time-sea-change-why-union-rights-migrant-workers-are-needed-prevent-forced-labor-thai https://laborrights.org/sites/default/files/publications/TimeforaSeaChange_THAI.pdf
16 “ความเห็นและข้อกังวลเกี่ยวกับการจัดอันดับของประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ปี 2564 ซึ่งจัดทาและเผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ” Global Labor Justice-International Labor Rights Forum ในนามของคณะทางานอาหารทะเล (Seafood Working Group) 1 เมษายน 2564 https://laborrights.org/publications/comments-concerning-ranking-thailand-united-states-department-state-2021-trafficking
17 อ้างแล้ว

Your tax deductible gift can help stop human rights violations and save lives around the world.