Skip to main content

จดหมายประท้วง กรณีการมอบรางวัล International Forgiveness Award

แก่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร

ถึง นายแอนโตนิโอ ซิเชติ
ประธานสถาบัน Istituzione Perdonanza Celestiniana ประเทศอิตาลี

พวกเราเป็นตัวแทนองค์กรสิทธิมนุษยชน และองค์กรสาธารณสุขชั้นนำของประเทศไทย และนานาชาติ พวกเราทราบเมื่อไม่นานมานี้ว่า องค์กรของท่านได้มอบรางวัล International Forgiveness Award ประจำปี 2547 ให้แก่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรของประเทศไทย “จากการที่รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติต่อผู้เสพยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย ไม่ใช่อาชญากร” พวกเราเขียนจดหมายนี้ถึงท่านเพื่อขอให้มีการทบทวนการตัดสินใจดังกล่าว เพราะได้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเป็นระบบต่อผู้เสพยาเสพติดภายใต้นโยบายของนายกรัฐมนตรีทักษิณ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 นายกรัฐมนตรีทักษิณได้ประกาศ “สงครามต่อยาเสพติด” ขึ้นในประเทศไทยเพื่อตอบโต้ต่อการแพร่ระบาดของเมธแอมเฟตามีน [ยาบ้า] ขณะที่กล่าวถึงผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดว่าเป็น “กากเดนของสังคม” และเป็น “ภัยต่อความมั่นคงของสังคม และต่อความมั่นคงของชาติ” นั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณได้เสนอเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ขจัดผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวนหลายพันคนออกจาก “บัญชีดำ” ที่รัฐบาลจัดทำขึ้น ภายในระยะเวลาสามเดือน ผู้ต้องสงสัยมากกว่า 2,275 คนถูกยิงเสียชีวิตในลักษณะที่เป็นการวิสามัญฆาตกรรม

ทั้งนี้ สามสัปดาห์หลังจากที่มีการประกาศ “สงครามต่อต้านยาเสพติด” คือ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านการวิสามัญฆาตกรรม นางอาสมา จะฮังกีร์ ได้แสดง “ความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อรายงานที่ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 รายในประเทศไทย เนื่องจากการปราบปรามการค้ายาเสพติด” ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาก็ได้ออกคำเตือนในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีทักษิณเรียก สหรัฐอเมริกาว่าเป็น “มิตรที่น่ารำคาญ” ภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 7 มีนาคม 2546 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทยได้รับเรื่องร้องเรียน 123 เรื่องจากประชาชนเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรม, การจับผิดตัว, การถูกขึ้น “บัญชีดำ” ขณะที่ช่วงเจ็ดสัปดาห์ก่อนหน้านั้น มีเรื่องร้องเรียนต่างๆ รวมกันแค่เพียงสิบสองเรื่อง

ขณะที่นานาชาติเพิ่มการประณามนโยบายปรายปรามยาเสพติดของประเทศไทยนั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณได้กล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า การเสียชีวิตส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการที่บรรดาผู้ค้ายาเสพติดสังหารกันเอง อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการรับผิดสอบใดๆ ต่อการเสียชีวิตเหล่านั้น ตรงกันข้าม เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงของประเทศไทยยังคงยอมให้มีการใช้ความรุนแรงอย่างสุดขีดต่อผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติด และเรียกร้องให้ใช้มาตรการแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ในการปราบปรามยาเสพติด ทั้งนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2546 นายกรัฐมนตรีทักษิณได้กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของประเทศไทยจะ “ยิงทิ้ง” ผู้ที่ลักลอบขนยาเสพติดเข้ามาจากประเทศพม่า และก่อนหน้านี้ ระหว่างที่มีการประกาศนโยบายเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด นายกรัฐมนตรีทักษิณก็ได้กล่าวว่า “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้” “พวกที่ค้ายาเสพติด โหดเหี้ยมกับลูกหลานของเรา จึงไม่ผิดอะไรที่เราจะเหี้ยมโหดกลับไปบ้าง”

ท่านอาจทราบว่า ในปี 2546 ประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมายที่ถือว่า ผู้เสพยาเสพติด (ไม่ใช่ผู้ค้ายาเสพติด) เป็น “ผู้ป่วย” และรับประกันว่า ผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานเบา จะได้รับการบำบัดรักษา โดยไม่ถูกคุมขัง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้น ทั้งผู้เสพยาเสพติด และผู้ค้ายาเสพติดตกเป็นเหยื่อของการปราบปราบยาเสพติดอย่างโหดร้ายของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ผู้เสพยาเสพติดจำนวนมากรายงานว่า ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม, ทุบตี และควบคุมตัวในช่วงที่มีการทำ “สงครามต่อยาเสพติด” บางคนถูกบังคับให้ลงชื่อรับสารภาพว่า ค้าเมธแอมเฟตามีน ทั้งนี้ ถึงแม้จะมีผู้เสพยาเสพติดจำนวนมากเข้าร่วมโครงการบำบัดรักษาที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล แต่นั่นก็เป็นเพราะถูกจับกุม หรือถูกข่มขู่บังคับให้เข้าร่วมโครงการ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง มีผู้เสพยาเสพติดจำนวนหนึ่งกลับยุติการเข้ารับการบำบัดรักษา เพราะกลัวว่า การที่เป็นผู้เสพยาเสพติดจะทำให้ถูกจับกุม หรือถูกสังหาร

ผลกระทบที่ร้ายแรงอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยมีการกล่าวถึงกันของนโยบายปราบปรามยาเสพติดของนายกรัฐมนตรีทักษิณ คือ ผลกระทบต่อสถานการณ์เชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ผู้เสพยาเสพติดประเภทเฮโรอีน โดยใช้เข็มฉีดยา ซึ่งมีจำนวนประมาณ 100,000 ถึง 250,000 คนในประเทศไทยนั้น มีความเสี่ยงต่อการติดเชื่อเอชไอวี จากการใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนร่วมกัน ระหว่างที่มีการทำ “สงครามต่อยาเสพติด” ผู้เสพยาเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยาจำนวนนับไม่ถ้วนต้องหลบหนีไปซ่อนตัว ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่อาจจะช่วยรักษาชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวี ขณะที่ผู้เสพยาเสพติดอีกส่วนหนึ่งต้องถูกคุมขังในเรือนจำ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่มีบริการป้องกันการติดเชื้อเอไอวี และยังมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ ร้อยละ 40 ของผู้เสพยาเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยาในประเทศไทยนั้นมีผลบวกต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี 2531 นอกจากนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 นายพอล ฮันท์ ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านสิทธิทางสุขภาพ ยังได้กล่าวถึง “ความกังวลว่า การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ... จะสร้างเงื่อนไขในทางลบที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายไวรัส [ภูมิคุ้มกันบกพร่อง] มากขึ้นในประเทศไทย”

การที่นายกรัฐมนตรีทักษิณกล่าวถึงผู้เสพยาเสพติดอยู่เสมอๆ ว่าเป็น “ผู้ป่วย” นั้น แทบจะไม่มีส่วนสัมพันธ์ใดๆ กับนโยบายที่โหดร้ายเกี่ยวกับยาเสพติดเลย นอกเสียจากจะเป็นการหันเหเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของนานาชาติเกี่ยวกับนโยบายเหล่านั้น ในการประชุมประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาว่า ประเทศเทศไทยได้ดำเนินโครงการลดความเสี่ยงให้กับกลุ่มผู้เสพยาเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยา ซึ่งหมายถึงบริการอย่างเช่น การแลกเปลี่ยนเข็มฉีดยาที่ได้รับการฆ่าเชื้อ และการใช้ยาเมธาโดนในการบำบัดรักษาการติดยาเสพติด แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีโครงการแลกเปลี่ยนเข็มฉีดยาที่ได้รับการฆ่าเชื้อเกิดขึ้นเลยในประเทศไทย ทั้งๆ ที่มีหลักฐานมากมายยืนยันว่า โครงการดังกล่าวสามารถช่วยลดการติดเชื้อเอชไอวีได้ ส่วนการใช้ยาเมธาโดนในศูนย์บำบัดรักษาการติดยาเสพติดก็เป็นไปอย่างจำกัด ขณะที่บริการสาธารณสุขอื่นๆ สำหรับผู้เสพยาเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยานั้นก็ถูกบั่นทอนไปด้วยบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เสพยาเสพติด

การที่ท่านมอบรางวัล International Forgiveness Award ให้แก่นายกรัฐมนตรีทักษิณนั้น อาจจะเกิดจากการที่ท่านไม่ได้ตระหนัก หรือท่านเลือกที่จะไม่รับรู้ถึงข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพื่อเห็นแก่ผู้ที่ได้รับอันตรายจากนโยบายของประเทศไทยเกี่ยวกับยาเสพติด และเพื่อเห็นแก่สถานะที่ดีของรางวัลของท่าน เราขอให้ท่านประกาศยกเลิกการให้รางวัลประจำปีนี้ต่อสาธารณะ ในฐานะทูตของนานาชาติในด้านการให้อภัย ท่านย่อมปรารถนาที่หลีกเลี่ยงไม่ให้ชื่อเสียงต้องแปดเปื้อนไปจากการเข้ามาข้องเกี่ยวกับนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่อื้อฉาวนี้

ด้วยความจริงใจ,

ลงชื่อ

ACT UP/New York, New York, USA
AIDS Access Foundation, Bangkok, Thailand
Argentinian Harm Reduction Association, Buenos Aires, Argentina
Argentinian Harm Reduction Network, Buenos Aires, Argentina
Campaign for Popular Democracy, Bangkok, Thailand
Canadian HIV/AIDS Legal Network, Montreal, Canada
Central and Eastern European Harm Reduction Network, Moscow, Russia
CHAMP (Community HIV/AIDS Mobilization Project), New York, USA
Christa Cepuch, Health Action International (HAI) Africa, Nairobi, Kenya
CitiWide Harm Reduction, Bronx, USA
Coordinating Committee for Human Rights Organizations, Bangkok, Thailand
Daniel Wolfe, Center for History and Ethics of Public Health, New York, USA
Division of International Health and Cross Cultural Medicine, University of California, San Diego
Drug Policy Alliance, New York, USA
DrugScope, London, UK
Eliana Palazzi, Istituto di Astrofisica Spaziale e Fisica cosmica/ Consiglio Nazionale delle Ricerche, Bologna, Italy
European AIDS Treatment Group, Brussels, Belgium
Foundation for Integrative AIDS Research (FIAR), Brooklyn, NY
French Collective on Viral Hepatitis, Paris, France
Friends of the People, Bangkok, Thailand
GAP (Grupo Português de Activistas de Tratamentos de VIH/SIDA), Lisbon, Portugal
Gay Men’s Health Crisis, New York, USA
Global Network of People Living with HIV/AIDS, Amsterdam, Netherlands
Grupo de Trabajo sobre Tratamientos del VIH, Barcelona, Spain
Harm Reduction Coalition, New York, USA
Health GAP (Global Access Project), New York, USA
Human Rights and Peace Information Center, Bangkok, Thailand
Human Rights Committee, the Law Society of Thailand, Bangkok, Thailand
Human Rights Watch, New York, USA
Intercambios Asociacion Civil, Buenos Aires, Argentina
International Antiprohibitionist League, New York, USA
International Center for Advancement of Addiction Treatment, New York, USA
International Harm Reduction Association, London, UK
Italian League for Fighting HIV/AIDS (LILA), Tourin, Italy
Johns Hopkins University Center for Public Health and Human Rights, Baltimore, USA
Kazim Khan, Visiting Academic/Senior Research Fellow, SPRC Middlesex University Queensway, Enfield, UK
Lifeline, Manchester, UK
New Drug Policy Alliance, Moscow, Russia
New Mexico AIDS Infonet, Arroyo Seco, NM
North East India Harm Reduction Network, Manipur, India
Open Society Institute, New York, USA
Oswaldo Cruz Foundation, Rio de Janeiro, Brazil
Red de Personas Viviendo con VIH/SIDA, Mar del Plata, Argentina
Russian Harm Reduction Network, Moscow, Russia
Society for Community Health Rehabilitation Education and Awareness, Dhaka, Bangladesh
Thai AIDS Treatment Action Group, Bangkok, Thailand
Thai Drug Users’ Network, Bangkok, Thailand
Transform Drug Policy Foundation, Bristol, UK
Treatment Action Group, New York, USA
Ukrainian Harm Reduction Association, Kiev, Ukraine
Union for Civil Liberty, Bangkok, Thailand
Working Group for the Protection of Human Rights Defenders, Bangkok, Thailand
Zimbabwe Activists on HIV & AIDS, Mutare, Zimbabwe

Your tax deductible gift can help stop human rights violations and save lives around the world.