Skip to main content

รายละเอียดบางตอนจากรายงานเรื่อง “หลุมฝ&

“มันเป็นเรื่องง่ายที่จะหาเฮโรอีนในเรือนจำมากกว่าข้างนอก มีผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในเรือนจำ ราคาก็ไม่แพง ประมาณห่อละ 400 – 500 บาท ราคาข้างนอกแพงกว่านี้ พวกเราได้เข็มฉีดยามาจากสถานีอนามัยในเรือนจำ ฉันก็ได้เข็มฉีดยามาจากสถานีอนามัย เป็นเข็มฉีดยาที่ดี แต่ก็มีไม่เคยพอ พวกเราต้องแบ่งกันใช้ ฉันใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่นๆ อีก 50 คน มันไม่มีทางเลือก ถึงเข็มฉีดยาจะไม่ค่อยแหลม แต่ก็ต้องใช้”

ตำรวจบอกฉันว่า ได้รับแจ้งข่าวเกี่ยวกับสมจิตเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2546 จากผู้หญิงคนหนึ่งที่โทรศัพท์มาบอกตำรวจตอนกลางคืน เวลาประมาณ 22 นาฬิกา ว่า สมจิตค้ายาเสพติด และซ่อนยาบ้าไว้ที่ร้าน แต่ตำรวจไม่เคยมาตรวจค้นที่ร้านของเราเลย วันถัดมา ตำรวจก็เรียกสมจิตไปยืนยันว่ามีชื่ออยู่ในบัญชีดำ หลังจากนั้นอีก 3 วัน แม่ของฉันก็ถูกฆ่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 เพื่อนบ้านของฉันก็ถูกฆ่าเหมือนกัน หลังจากที่ถูกตำรวจเรียกให้ไปรายงานตัว และยืนยันชื่อในบัญชีดำ เขาจะเป็นพวกค้ายาเสพติดได้อย่างไร เพราะอายุมากแล้ว และยังเดินไม่ได้ด้วย”

    —ลูกสาวของนางสมจิต ขยันดี, อายุ 42 ปี ถูกสังหารเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546


เย็นวันที่ 31 มกราคม 2546 นายบุญช่วย อุ่นทอง และนางยุพิน อุ่นทองถูกยิงเสียชีวิต ขณะที่กำลังเดินทางกลับบ้านพร้อมกับเด็กชายจิรศักดิ์ ลูกชายอายุ 8 ปี ซึ่งไปเที่ยวงานด้วยกัน ... พยานที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่า มีผู้ชายหนึ่งคนใส่หมวกคลุมหน้าขับรถจักรยานยนต์มายิงนางยุพิน ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของนายบุญช่วย หลังจากนั้น นายบุญช่วยได้บอกให้เด็กชายจิรศักดิ์หนีไป ตอนที่นายบุญช่วยถูกยิงเข้าที่ศีรษะนั้น เด็กชายจิรศักดิ์หนีไปซ่อนอยู่หลังรั้ว และเห็นเหตุการณ์ด้วย นายบุญช่วย และนางยุพินเคยถูกจับในคดียาเสพติด นายบุญช่วยนั้นเพิ่งพ้นโทษจากเรือนจำมาไม่นาน ทั้งสองคนมีชื่ออยู่ในบัญชีดำ

    — รายงานเรื่อง “หลุมฝังศพมีไม่พอ” หน้า 9


“ฉันได้ยินเสียงเขา [เพื่อนชาย] ถูกซ้อม และได้ยินเสียงตำรวจพูดว่า ‘ยอมเสียดีๆ อย่าต่อสู้ขัดขืน ถ้ามียาเสพติดก็เอาออกมา’ หลังจากที่เขาบอกไปว่า เขาไม่มียาเสพติด ตำรวจก็พูดว่า ‘ขว้างยาเสพติดทิ้งไปทำไม’ หลังจากนั้น เขาก็ถูกจับใส่กุญแจมือไพล่หลัง และมีรอยถูกทุบตีไปทั่วทั้งตัว ฉันถามเขาว่า ‘ถูกซ้อมหรือเปล่า’ เขาตอบว่า ‘ใช่ ถูกตำรวจ 3 คนจับใส่กุญแจมือ แล้วซ้อม’ ... ตำรวจพูดว่า ‘แกจะต้องถูกฆ่าตายไม่วันใดก็วันหนึ่ง’”

    —กานต์ ส., ผู้หญิง อายุ 25 ปี และเป็นผู้เสพยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยา


“คำสารภาพบอกว่า ฉันค้ายาเสพติด ทั้งที่ฉันไม่ได้ถูกจับเรื่องนั้น เมื่อฉันไม่ยอมเซ็นชื่อรับสารภาพ ตำรวจก็ขู่ว่าจะจับคนในครอบครัวฉันทุกคน เขาถามฉันว่า ‘ไม่รักครอบครัวหรืออย่างไร? อยากให้ครอบครัวมีปัญหาหรือ? ทำไม่ไม่รับผิดไปคนเดียว แทนที่จะดึงให้ครอบครัวต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย?’ ฉันก็เลยต้องรับสารภาพ”

    —ต่าย พ., ผู้ชาย อายุ 28 ปี และเป็นผู้เสพยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยา


“เพื่อนฉันทุกคนหายหน้าไปจากที่ๆ เคยอยู่ เพื่อไปซ่อนตัว มันไม่เหมือนเมื่อก่อนที่เวลาเราออกไปข้างนอก เราสามารถบอกได้ว่าใครเป็นพวกที่เสพยาเสพติด พวกเรารู้จะใครเป็นใคร และจะเจอกันได้ที่ไหนบ้าง แต่หลังจากที่สงครามยาเสพติด พวกเราต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย”

    —อ๊อด ธนันชัย, ผู้ชาย อายุ 26 ปี และเป็นผู้เสพยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยา


“ผู้เสพยาเสพติดบางคนบอกเราว่า มีความเสียงมากขึ้น เมื่อพวกเขาต้องหนีไปซ่อน ... ฉันคิดว่า พวกเขามีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น เพราะความยากลำบากที่ใคร หรือองค์กรใดๆ จะไปทำกิจกรรมกับพวกเขาเกี่ยวกับการวิจัย การให้การศึกษา หรือการให้บริการทางด้านสาธารณสุข ... ผู้เสพเฮโรอีนบางคนเปลี่ยนไปใช้ยาเสพติดชนิดอื่น แต่ก็ยังใช้เข็มฉีดยาอยู่ดี บางคนหันไปเสพยาบ้า บางคนหันไปดื่มสุราชนิดที่แรงๆ เช่น วิสกี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แล้วเวลาที่ต้องซ่อนตัวจากตำรวจ มันก็เป็นเรื่องยากที่จะมียาเสพติดอยู่ติดตัว แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเสพยาเสพติด ก็ต้องรีบๆ เสพ ซึ่งอาจใช้ยาเสพติดเกินขนาดได้”

    —นายอนุรักษ์ บุญทรักษ์, ผู้ประสานงานโครงการช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่


“มันเป็นเรื่องง่ายที่จะหาเฮโรอีนในเรือนจำมากกว่าข้างนอก มีผู้ค้ายาเสพติดอยู่ในเรือนจำ ราคาก็ไม่แพง ประมาณห่อละ 400 – 500 บาท ราคาข้างนอกแพงกว่านี้ พวกเราได้เข็มฉีดยามาจากสถานีอนามัยในเรือนจำ ฉันก็ได้เข็มฉีดยามาจากสถานีอนามัย เป็นเข็มฉีดยาที่ดี แต่ก็มีไม่เคยพอ พวกเราต้องแบ่งกันใช้ ฉันใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่นๆ อีก 50 คน มันไม่มีทางเลือก ถึงเข็มฉีดยาจะไม่ค่อยแหลม แต่ก็ต้องใช้”

    —งู ต, ผู้ชาย อายุ 23 ปี และเป็นผู้เสพยาเสพติด ซึ่งตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี ในปี 2546


“พวกนี้จะติดคุก หรือหายสาบสูญไป ใครจะไปสนใจ? พวกนี้ทำลายประเทศของเรา”

    —นายวัน มูฮัมหมัด นอร์ มะทา, กล่าวถึงผู้ค้ายาเสพติด, มกราคม 2546


“ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ พวกค้ายาเสพติดเหี้ยมโหดกับลูกหลานของเรา จึงไม่ผิดอะไรที่เราจะเหี้ยมโหดกลับไป ... อาจเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการสูญเสียบ้าง ... แต่ถ้าพวกค้ายาเสพติดเสียชีวิตก็เป็นเรื่องปกติ”

    —นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร, ปราศรัยที่สถาบันราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ, 14 มกราคม 2546

Your tax deductible gift can help stop human rights violations and save lives around the world.