Skip to main content

การสุ่มสอบถามความเห็นประชาชน แบบทหารไทย

เสรีภาพในการแสดงออกถูกกีดกันด้วยบรรยากาศของความกลัว

นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาของไทยในงานแถลงข่าวในโอกาสครบรอบสามปีของรัฐบาลทหาร และการทำรัฐประหารที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย 23 พฤษภาคม 2560  © 2017 Reuters/Jorge Silva

หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่า เขาพร้อมจะรับฟังจากประชาชนชาวไทยเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ

เริ่มต้นในสัปดาห์นี้ ทางสำนักนายกรัฐมนตรีจึงจะรายงานความเห็นของประชาชนทุก 10 วันให้ท่านทราบ ตามชุดคำถามที่พลเอกประยุทธ์เป็นคนคิดขึ้นมา:

ข้อ 1 – ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่

ข้อ 2 - หากไม่ได้จะทำอย่างไร  

ข้อ 3 - การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงเรื่องอนาคตของประเทศ และเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์และการปฏิรูปหรือไม่นั้น ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง  

ข้อ 4 - ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณีควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้อีกแล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร

เป็นยุคใหม่ที่เปิดให้ประชาชนแสดงความเห็นในประเทศไทยหรือ? ยังไม่เร็วเช่นนั้น ยังมีปัญหาอยู่ เนื่องจากทุกคนที่ตอบคำถามต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนเพื่อส่งให้กับทางการด้วย คงมีเพียงไม่กี่คนที่จะกล้าหาญพอจะแสดงความเห็นต่อต้านระบอบปกครองของทหารที่ยาวนาน ระบอบที่ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง ระบอบเผด็จการ หรือแม้กระทั่งโอกาสที่จะเกิดการทำรัฐประหารอีกครั้ง ทำไมหรือ? เพราะพวกเขาทราบว่าการแสดงความเห็นต่างจากรัฐ อาจเป็นเหตุให้ได้รับโทษตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

สามปีหลังรัฐประหาร การปราบปรามโดยทหาร ยังเกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มีการปราบปรามสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบเพิ่มขึ้นอย่างมาก รัฐบาลทหารยังคงฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความเห็นต่าง ห้ามการจัดกิจกรรมทางการเมือง เซ็นเซอร์สื่อ และปราบปรามเสรีภาพในการแสดงความเห็น

ประชาคมระหว่างประเทศควรมองเห็นธาตุแท้ของพลเอกประยุทธ์ เขาเป็นเผด็จการทหารซึ่งปกครองประเทศโดยไม่มีการกำกับดูแลหรือตรวจสอบจากอำนาจของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ หรือตุลาการ เขาไม่เคยแสดงสัญญาณว่าพร้อมจะลงจากอำนาจ คำสัญญาของรัฐบาลทหารที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และคำสัญญาที่จะคืนระบอบปกครองประชาธิปไตยของพลเรือนให้กับประเทศไทยยังเป็นสิ่งที่ดูเลือนราง

รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องแสดงจุดยืนที่เข้มงวดมากขึ้นต่อรัฐบาลทหารไทย เริ่มจากการกดดันให้มีการกำหนดกรอบเวลาการเลือกตั้งที่ชัดเจน ทั้งยังควรกดดันรัฐบาลทหารให้ยกเลิกมาตรการจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบปกครองประชาธิปไตยของพลเรือนโดยทันที สิ่งนี้เป็นบททดสอบสำคัญสำหรับประธานาธิบดีดอนัล ทรัมป์ ตอนที่พลเอกประยุทธ์เดินทางไปเยือนกรุงวอชิงตันดีซีในเดือนหน้า 

Your tax deductible gift can help stop human rights violations and save lives around the world.