Skip to main content

ประเทศไทย: ยุติการปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหายตัวไปของทนายสมชาย

ความล้มเหลวในการลงโทษผู้กระทาผิดทาให้การละเมิดสิทธิ และการ “อุ้มหาย” ยังคงเกิดขึ้นต่อไป

(นิวยอร์ก) — องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวในวาระครบรอบ 4 ปีของเหตุการณ์ที่ทนายสมชาย นีละไพจิคร ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนถูก “อุ้มหาย” และฆาตกรรมว่า รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยควรที่จะรับรองว่า ต่อไปนี้จะมีการดาเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ตารวจ และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญกรรมนี้ให้ถึงที่สุดตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมเสียที

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2004 ทนายสมชายถูกเจ้าหน้าที่ตาราจ 5 คนลากตัวออกมาจากรถยนต์ของเขา และหลังจากนั้นก็ไม่มีใครเห็นทนายสมชายอีกเลย ขณะนั้นทนายสมชายดารงตาแหน่งเป็นประธานชมรมนักกฏหมายมุสลิม และรองประธานคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของสภาทนายความแห่งประเทศไทย โดยรับผิดชอบคดีที่มีการร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่ตารวจทรมานผู้ต้องสงสัยชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นายกรัฐมนตรี 2 คนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คือ ทักษิณ ชินวัตร และพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ต่างก็ยอมรับว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักพาตัว และการฆาตกรรมทนายสมชาย แต่กลับไม่การดาเนินการใดๆ เพื่อที่จะกดดันให้สานักงานตารวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษของกระทรวงยุติธรรมให้คาตอบว่า ใครเป็นคนบงการให้ลักพาตัว และสังหารทนายสมชาย? และใครที่ขัดขวางกระบวนการยุติธรรมในคดีนี้?

แบรด อดัมส์ ผู้อานวยการแผนกเอเชียขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า “กรณีของทนายสมชายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า รัฐบาลใหม่มีความเคารพกฏหมาย และสิทธิมนุษยชนเพียงใด เพราะรัฐบาลก่อนหน้านี้ทั้ง 2 ชุดพยายามปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังอาชญากรรมที่ร้ายแรงนี้มาโดยตลอด และตลอดสี่ปีที่ผ่านมานั้นไม่ได้มีการดาเนินการใดๆ เพื่อที่จะให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการ “อุ้มหาย และฆาตรกรรมทนายสมชายให้ถึงที่สุด”

หลังจากที่เข้ารับตาแหน่งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และสมาชิกคณะรัฐมนตรีคนอื่นๆ ต่างก็ปิดปากเงียบเกี่ยวกับกรณีของทนายสมชาย และยังไม่มีนโยบายใดๆ ที่จะแก้ไขปัญหาการ “อุ้มหาย” และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอื่นๆ ที่เกิดจากการกระทาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เจ้าหน้าที่ตารวจ 5 นายที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของทนายสมชาย ได้แก่ พันตารวจตรีเงิน ทองสุข, พันตารวจโทสินชัย นิ่มปุญญกาพง, จ่าสิบตารวจตรีชัยแว้ง พาด้วง, สิบตารวจเอกรันดอน สิทธิเขต และพัน

ตารวจโทชัดชัย เลี่ยมสงวน ถูกจับกุมตัวเมื่อเดือนเมษายน 2004 และถูกดาเนินคดีในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ และข่มขืนใจผู้อื่น แต่ไม่มีการตั้งข้อหาเกี่ยวกับการลักพาตัว หรือการฆาตกรรม เนื่องจากการสืบสวนของสานักงานตารวจแห่งชาติไม่มีการสืบหาพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิสูจน์ว่า ทนายสมชายเสียชีวิตไปแล้ว

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2006 ศาลอาญากลางมีคาพิพากษาว่า พันตารวจตรีเงินมีความผิด และถูกตัดสินให้จาคุกเป็นเวลา 3 ปี ขณะที่เจ้าหน่าที่ตารวจที่เหลืออีก 4 คนถูกยกฟ้อง เพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาได้ให้ข้อสรุปที่สาคัญว่า เหตุการณ์ทาร้ายร่างกายที่เกิดขึ้นได้นาไปสู่การหายตัวไปของทรายสมชาย รวมทั้งยังได้วิจารณ์การทางานของเจ้าหน้าที่ตารวจในการสืบสวนคดีนี้ด้วย องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ และกลุ่มสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความไม่จริงใจของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณในการสอบสวนกรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย และยังได้วิจารณ์ความล้มเหลวในการนาตัวผู้ที่สั่งการ และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาลงโทษ

เมื่อเดือนมีนาคม 2007 องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ตีพิมพ์รายงานความยาว 69 หน้าเกี่ยวกับ การ “อุ้มหาย” จานวน 22 คดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ https://www.hrw.org/reports/2007/thailand0307/ ซึ่งมีข้อมูลชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ตารวจ และทหารมีส่วนรับผิดชอบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลไทยกลับไม่ได้ดาเนินการใดๆ ในการที่จะนาตัวผู้ที่กระทาความผิดมาลงโทษ ทั้งนี้ กรณีการ “อุ้มหาย” ทนายสมชายเป็นเพียงกรณีการ “อุ้มหาย” เดียวทีมีการดาเนินคดี และอยู่ในความสนใจของประชาชน ท่ามกลางเรื่องร้องเรียนจานวนมากที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการของรัฐบาลในการต่อต้านการก่อความไม่สงบ และสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

แบรด อดัมส์ กล่าวว่า “การที่ทนายสมชายเป็นบุคคลสาคัญ น่าจะทาให้รัฐบาลไทยยากที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาการ “อุ้มหาย” ที่ยังคงดาเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลกลับไม่ได้ดาเนินการอะไร นอกเหนือไปจากสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นการปกป้องฆาตกรจากกระบวนการยุติธรรม”

องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าว่า รัฐบาลไทยได้บังคับใช้กฏหมาย และระเบียบต่างๆ ในลักษณะที่ทาให้บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการถูกทรมาน, ถูก “อุ้มหาย” และถูกฆาตกรรมระหว่างที่ถูกควบคุมตัวก่อนที่จะมีการตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการ โดยกฏอัยการศึกอนุญาตให้มีการคุมตัว โดยไม่ต้องมีการตั้งข้อหาได้ 7 วัน หลังจากนั้นก็จะมีการใช้อานาจของพระราชกาหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินควบคุมตัวต่อไปอีก 30 วัน (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับจดหมายแสดงความเห็นขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ต่อพระราชกาหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเสนอต่อรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2005 https://www.hrw.org/english/docs/2005/08/04/thaila11592.htm นอกจากนี้ ยังมีการออกระเบียบของกองทัพภาคที่ 4 ห้ามไม่ให้เยี่ยมผู้ต้องสัยในช่วง 72 ชั่วโมงแรกของการควบคุมตัวอีกด้วย

ความไม่พอใจต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเกิดจากการกระทาของเจ้าหน้าที่ของทางการไทย เป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้สถานการณ์การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรุนแรง และโหดร้ายมากขึ้นโดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา กองกาลังติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนได้ก่อเหตุลอบยิง, วางระเบิด, ฆ่าตัดศรีษะ และวางเพลิง ทาให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 2,900 คน ซึ่งเหยื่อของความรุนแรงนั้นมากกว่าร้อยละ 95 เป็นพลเรือน

องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์เรียกร้องให้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีสมัคร และทางการไทยดาเนินมาตรการต่างๆ ที่จาเป็นทั้งหมด เพื่อยุติปัญหาการ “อุ้มหาย” รวมทั้งการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาของสหประชาติเกี่ยวกับการต่อต้านการบังคับให้บุคคลสูญหาย และจะต้องกาหนดให้การ “อุ้มหาย” เป็นฐานความผิดหนึ่งในประมวลกฏหมายอาญา นอกจากนี้ จะต้องมีการรับประกันว่า ผู้ที่อยู่ในการควบคุมตัวของทหาร และตารวจถูกควบคุมตัวในสถานที่ที่เปิดเผย ซึ่งใช้เป็นที่คุมขังอย่างถูกต้องตามกฏหมาย รวมทั้งจะต้องไม่มีการทรมาน หรือปฏิบัติต้อผู้ที่ถูกควบคุมต่ออย่างโหดร้าย, ผิดมนุษยธรรม หรือดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่สาคัญจะต้องมีการแจ้งให้ญาติ หรือทนายของผู้ที่ถูกคุมขังทราบในทันทีว่า พวกเขาถูกเอาตัวไปไว้ที่ใด

แบรด อดัมส์ กล่าวว่า “ชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้บอกกับเราว่า ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการ “อุ้มหาย” นั้นทาให้พวกเขาเชื่อว่า ความยุติธรรมสาหรับพวกเขาได้สูญหายไปด้วยเช่นกัน”

Your tax deductible gift can help stop human rights violations and save lives around the world.