(นิวยอร์ก) องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า ทางการไทยยังจำเป็นที่
จะต้องทำการสืบสวนคดีต่อไป เพื่อนำตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวของทนายสมชาย นีละ
ไพจิตรมาลงโทษโดยด่วน ถึงแม้เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ศาลจะพิพากษาจำคุก
เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นายในข้อหาข่มขืนใจทนายสมชาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายก็ตาม
ทนายสมชาย ซึ่งเป็นประธานชมรมนักกฏหมายมุสลิม และรองประธานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนของสภาทนายความ ถูกลากออกจากรถยนต์ของเขาในคืนวันที่ 12 มีนาคม 2547 โดย
บุคคลที่เชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย และหลังจากนั้น ทนายสมชายก็หายตัวไป ขณะที่
เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ทนายสมชายเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไป
เกี่ยวข้องกับการทำทารุณกรรมชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายถูกจับกุม และดำเนินคดีทีเกี่ยวข้องกับการร่วมกันข่มขืนใจทนายสมชาย
โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซี่งเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ศาลอาญากลางได้พิพากษาจำคุก
พ.ต.ต.เงิน ทองสุก 3 เดือนในความผิดดังกล่าว ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เหลืออีก 4 นายที่เป็น
ผู้ต้องหาในคดีนี้ถูกยกฟ้อง เพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
แบรด อาดัมส์ ผู้อำนายการฝ่ายเอเซียขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า “คดีนี้เหยื่อ
ผู้เคราะห์ร้ายหายตัวไป และเชื่อได้ว่าเสียชีวิตไปแล้ว แต่เป็นเรื่องประหลาดที่ยังไม่มีใครถูก
ลงโทษในข้อหาความผิดที่ร้ายแรงมากกว่าการทำร้ายร่างกาย ทั้งๆ ที่เวลาก็ผ่านไปเนิ่นนาน
แล้ว” “การที่เจ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ดังนั้น จึงไม่น่าไว้วางใจ
ที่จะมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดในคดีนี้ต่อไป”
เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรยอมรับต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก
ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไป และการเสียชีวิตของทนายสมชาย “กรม
สืบสวนคดีพิเศษ [กระทรวงยุติธรรม] กำลังทำสำนวนเรื่องนี้ เพื่อนำไปสู่คดีการตั้งข้อหาฆ่าคน
ตาย … จะสามารถสรุปสำนวนการสืบสวนสอบสวนได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ... ทราบว่า
[ทนายสมชาย] เสียชีวิตแล้ว เพราะพบร่องรอยหลักฐาน … โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้อง
แน่นอน และมีมากกว่า 4 คน … คดีอย่างนี้ การหาพยานหลักฐานไม่ง่าย”
แบรด อาดัมส์ กล่าวว่า “ถึงแม้จะเป็นเรื่องดีที่นายกรัฐมนตรีทักษิณยอมรับว่า มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตทนายสมชาย แต่ประเด็นนี้ก็ปรากฏชัดเจนมาตั้งแต่วันแรกที่ทนาย
สมชายหายตัวไปแล้ว ดังนั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณจึงจำเป็นต้องรับประกันว่า การสืบวนต่อไปนี้
จะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ใครเป็นผู้บงการการสังหารทนายสมชาย? ใครขัดขวางกระบวนการ
ยุติธรรม? และเกิดอะขึ้นกับทนายสมชาย?”
ก่อนหน้าที่เขาจะหายตัวไป ทนายสมชายได้บอกกับครอบครัว และเพื่อนฝูงว่า เขาถูกข่มขู่จาก
การที่ไปตรวจสอบ และกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำการทารุณกรรมผู้ต้องสงสัยในคดีที่
เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันทหารพัฒนา จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม
2547 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงระลอกใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2548 อังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของทนายสมชาย ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อ คณะทำงานของสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาการบังคับทำให้บุคคลสูญหาย โดยแสดงความไม่พอใจกับความ ล้มเหลวของทางการไทยในการแก้ไขคดีนี้
องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของครอบครัวของทนายสมชาย และผู้ที่เข้าไปมี ส่วนเกี่ยวข้องช่วยเหลือในการต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมในคดีนี้ โดยได้รับข้อมูลว่า พวกเขาถูกข่มขู่ และติดตาม มานานหลายเดือนแล้ว การคุกคามครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม หลังจากที่ภรรยาของทนายสมชาย ออกมาจากห้องพิจารณาคดี เธอพบว่า ไฟหน้าของรถยนต์ของทนายความที่เธอใช้ที่เดินทางมายังศาลอาญากลาง ถูกทุบแตก ส่วนนักสิทธิมนุษยชนก็รายงานว่า ถูกข่มขู่ทางโทรศัพท์หลายครั้งระหว่างปฏิบัติหน้าที่สังเกตการณ์การ พิจารณาคดีนี้
แบรด อาดัมส์ กล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีทักษิณควรมีคำสั่งอย่างเปิดเผยให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการข่มขู่คุกคาม ครอบครัวของทนายสมชาย และผู้ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องช่วยเหลือในการต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมในคดีนี้ เพราะการดูแลรับรองความปลอดภัยของบุคคลเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของทางการไทย”
องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์พบว่า คดีของทนายสมชายเป็นกรณีเดียวที่ได้รับความสนใจจากสาธารณะ และมีการ สืบสวนสอบสวนไปถึงขั้นที่มีการจับตัวผู้ต้องหา และดำเนินคดีพิพากษาในชั้นศาล ถึงแม้การดำเนินคดีดังกล่าวจะ ไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการหายตัวไปของทนายสมชายได้ก็ตาม ส่วนรายงานเกี่ยวกับบุคคลจำนวนมากที่ ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้หายตัวไป ซึ่งเริ่มปรากฏขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่วันที่นายกรัฐมนตรีทักษิณเร่งรัดกดดัน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันทหารพัฒนา จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 นั้นยังคงไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะช่วยให้เกิดความยุติธรรมขึ้นเลย
แบรด อาดัมส์ กล่าวว่า “แรงกดดันทางการเมืองที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารปราบปรามเอาชนะผู้ก่อ ความไม่สงบ เป็นสาเหตุทำให้ปัญหาการทำให้บุคคลสูญหาย และการสังหารที่ผิดกฏหมายเกิดเพิ่มมากขึ้น รัฐบาล จำเป็นจะต้องตอบคำถาม และให้ความยุติธรรมในคดีของทนายสมชาย และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เพื่อที่จะให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เชื่อมั่นไว้วางใจในทางการไทย”
องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์เรียกร้องให้ มีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อทำการสืบสวนข้อกล่าวหาต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีทักษิณ และทางการไทย จะต้องเร่งรัดดำเนินมาตรการทุกอย่างที่มีความจำเป็นต่อการยุติการบังคับทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งรวมถึงการทำให้ บังคับทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา นอกจากนี้ ทางการไทยจะต้องรับประกันว่า บุคคลที่ถูกควบคุม ตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารจะต้องถูกนำตัวไปไว้ที่สถานที่เปิดเผยตรวจสอบได้ โดยจะต้องมีการแจ้งสถานที่ ควบคุมตัวบุคคลเหล่านั้นให้ครอบครัว และทนายความทราบ รวมทั้งจะต้องมีหลักประกันไม่ให้มีการทารุณกรรม หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมใดๆ ต่อบุคคลเหล่านั้น